หน้าเว็บ

กลุ่มพนมนครานุรักษ์

วัตถุประสงค์หลักของกลุ่ม คือ การทำกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชน ชุมชน หรือ องค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะบทบาทของประชาชน ชุมชน หรือ องค์กรประชาสังคม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

สำนักงาน เลขที่ 137 ถนนสุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม 48000
โทร. 042 - 520214 มือถือ 085 - 2044085
ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุป คำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีให้เพิกถอนหนังสือสำคัญ ฯ เลขที่ นพ 0038



















































เอกสาร  (  สำเนา  )   "  คำอุทธรณ์  ต่อศาลปกครองสูงสุด  "
คดี การเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่  นพ  0038  ของหนองน้ำ หนองญาติ
จำนวน  21  หน้า

กลุ่มอนุรักษ์หนองญาติ  ผู้ฟ้องคดี




วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไปรับฟังคำพิพากษา " คดีให้เพิกถอน นสล.หนองญาติ " ที่ ศาลปกครองจังหวัดขอนแก่น วันที่ 24 สิงหาคม 2554




ศาลปกครองจังหวัดขอนแก่น
วันที่  24  สิงหาคม  2554


พี่ณรงค์  ไชยตา ประธานกลุ่มพนมนครานุรักษ์ วันนี้มาในฐานะ ทนายความผู้ฟ้องคดี
และ พี่หมาน สมาน  พิมพานนท์  สมาชิกกลุ่มพนมนครานุรักษ์
มารับฟัง  การอ่านคำพิพากษาคดี การให้เพิกถอน นสล. เลขที่ นพ  0038  ครั้งที่ 1






พี่ณรงค์  ไชยตา  และ  พี่ สมาน  พิมพานนท์
หลังฟังคำพิพากษาจบ  ก็เดินทางกลับนครพนม






สรุป  คำพิพากษาของศาลปกครองขอนแก่น วันที่ 24 สิงหาคม  2554
กรณีการทวงคืนหนองญาติให้แก่ประชาชนชาวนครพนม
โดย  คณะกฎหมายของกลุ่มพนมนครานุรักษ์
วันที่  28  สิงหาคม  2554

ทั้งนี้  ผู้ฟ้องและคณะกฏหมายของกลุ่มพนมนครานุรักษ์ จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน  30  วัน





วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธนารักษ์พื้นที่นครพนม ยืนยันว่า กรมชลประทานซื้อ " หนองญาติ " มาทั้งหนอง




นางสาวจุฑามาศ  จันทรสร
ธนารักษ์พื้นที่นครพนม
ให้สัมภาษณ์นายทวี  อภิสกุลชาติ นักข่าวทีวี 3 ประจำจังหวัดนครพนม
 ถึงเรื่อง " การครอบครอง หนองญาติ  จนนำไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็น ที่ราชพัสดุ  "
เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม  2548





















คลิปวีดีโอ นี้ บันทึกในระหว่างการให้สัมภาษณ์  โดยได้รับอนุญาตจากผู้ให้สัมภาษณ์แล้ว
เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม  2548  ณ  สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครพนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม






หลังการให้สัมภาษณ์ เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2548  ทางสำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครพนม  ก็ได้มีหนังสือ กค. 0309 . 35 / 337 ลงวันที่  5  มีนาคม  2548  มาถึง  นายทวี  อภิสกุลชาติ  เพื่อยืนยัน ความชัดเจนของการสัมภาษณ์วันนั้น อีกครั้ง


วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศาลปกครองขอนแก่น นัดฟังคำพิพากษา " หนองญาติ " ในวันทิ่ 24 สิงหาคม 2554




หมายศาลปกครองจังหวัดขอนแก่น  นัดฟังคำพิพากษาคดิ " หนองญาติ "
ในวันทิ  24  สิงหาคม  2554


๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐


เอกสาร ของ  กลุ่มอนุรักษ์หนองญาติ












สรุป  สำนวนคดิหนองญาติ ของศาลปกครองขอนแก่น
โดย  กลุ่มอนุรักษ์หนองญาติ
วันทิ   18  สิงหาคม  2554


วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

" อย่าส่งเสริม คนไม่ดี ให้ได้ปกครองบ้านเมือง " ตามพระราชดำรัสฯ




หมอประสงค์  บูรณ์พงษ์  
คนต่างถิ่น คนแรก ที่ชาวนครพนมกลุ่มหนึ่งหลงผิดสนับสนุนให้เล่นการเมือง
เพราะ สมัยก่อนหมอมีน้อย และเคยเซ็นต์ " อนาถา " ให้คนจนมานับไม่ถ้วน
จนได้ฉายาว่า  "  หมอคนยาก  " (  ด้วยสิทธิสงเคราะห์ของทางการ )
เป็น สส. หลายสมัยเพราะเราเชื่อว่า  อาชีพแพทย์  น่าจะช่วยเหลือคนจนได้
แต่ตลอด 20 ปีที่เป็น สส. นครพนม ก็สร้างแต่ผลงาน " ชั่วไม่มี  ดีไม่ปรากฏ " 
ผู้ก่อตั้งกลุ่มการเมือง ที่ชาวนครพนม เรียกว่า " ก๊วน 4 นาย "
อันประกอบด้วย นายแพทย์  , นายพล  , นายอำเภอ และ นายก อบจ.


พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ
คนต่างถิ่น คนที่สอง ที่มาเล่นการเมืองที่นครพนม เพราะแพ้ทางนนทบุรี
โดยการเชื้อเชิญ มาตั้งพรรคความหวังใหม่ จาก หมอประสงค์  บูรณ์พงษ์
เพราะเชื่อว่า ชื่อเสียงบารมีของทหาร  น่าจะทำให้พรรคนี้แข่งแกร่ง
แต่การณ์ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น  เงินทองฝืดเคืองจนต้องยุบพรรคให้ทักษิน
อย่างไรก็ดี  ยังมีโชคได้เป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 2
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชื่อ "  นครพนม  " และ " คอมมูนิสต์ "
ถัดจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์  ผู้ขึ้นชื่อในเรื่องความเด็ดขาด
และ การปราบปราม  โจร ผกค. หรือ ผู้ก่อการร้ายคอมมูนิสต์ ในอดีต
ผู้ที่ทำให้คนนครพนม ได้เห็น  " ธงแดง โบกสะบัด " เป็นขวัญตาอีก
เป็นครั้งที่ 2  หลังจาก ผกค. ได้ปักไว้ที่ เขาภูพานนาแก เมื่อ 50 กว่าปีก่อน


ปัจจุบัน ยังเป็นประธานสูงสุด ของมวลชนคนเสื้อแดงนครพนม


นายชวลิต  วิชยสุทธิ์
คนต่างถิ่น คนที่สาม อดีต นายอำเภอเมืองนครพนม  และหลายแห่ง
จาก นักปกครองระดับสูง ที่มีโอกาศได้คลุกคลีรับใช้นักการเมืองใหญ่
จึง พลิกผันมั่นใจ หันมาเล่นการเมือง เต็มตัว ไม่ใยดีกับอาชีพราชการ
เกรียวกราวฉาวโฉ่  แต่ก่อนจะเล่นการเมือง  ในกรณี การย้ายอำเภอเมือง
ไปตั้งกลางหนองญาติ  ท่ามกลางการต่อต้าน คัดค้าน จากชาวบ้าน
เป็น สส.นครพนม ถึง 2 สมัย  ทั้งที่คนยังสงสัยว่า  มีดี กว่าคนท้องถิ่นยังไง


นางมนพร  เจริญศรี
คนต่างถิ่น คนที่ 4  อดีต นายก อบจ.นครพนม  ในขณะนั้น
เจ้าของโครงการ " ศูนย์โอทอปจังหวัดนครพนม "
หนึ่งใน " ก๊วน 4 นาย  "  ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข การบุกรุกหนองญาติ
ขนาดยังไม่ได้เป็น สส. เธอก็คำราม จะพิพากษาคนทรยศซะแล้ว


ตอนที่กรุงเทพฯ ยังวุ่นวาย โกลาหล  เพราะมีการเผาบ้านเผาเมือง 
ที่นครพนม เธอ ก็เหี้ยมพอ ที่จะจัดให้คนเสื้อแดงมาชุมนุมกันในตอนเย็น


คลิป  คนเสื้อแดง จุดไฟเผายาง หน้า สวนชมโขง ฉลองการเผากรุงเทพ

oooooooooooooooooooooo

ผลงานสุดเหี้ยมของ "  ก๊วน 4 นาย  "  ที่หนองน้ำ " หนองญาติ  "


หนองญาติ เป็นหนองน้ำที่เกิดตามธรรมชาติ และ ประชาชนใช้ประโยชน์
ร่วมกันมานานนับร้อยปี  จึงมีสถานะเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
มีประมวลกฏหมายให้การคุ้มครอง ถึง 3 ฉบับ
1.  ป.ที่ดิน -  การเข้าใช้ต้องถอนสภาพโดยกฏหมายพิเศษ
2.  ป.แพ่งพาณิชย์ -  ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน
3.  ป.อาญา -  การบุกรุกที่ดินของรัฐ   มีโทษหนักทั้งจำและปรับ


หน้าที่สำคัญอันหนึ่งของนายอำเภอท้องที่ ตามพรบ.ลักษณะปกครองฯ
ก็คือ การดูแลรักษา สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ ห้วยหนองคลองบึง
ที่ จะโอนแก่กันมิได้ และห้ามเอาอายุความมาต่อสู้กับแผ่นดิน
ด้วยความเป็น คนต่างถิ่น  จึงเชื่อเอกสาร ขี้ปะติ๋ว มากกว่า ข้อเท็จจริง 


หนองญาติ ในปัจจุบัน  ธนารักษ์นครพนม ระบุว่ามีเนื้อที่ 2,500 ไร่
มีสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานต่างๆ ที่ชายตลิ่งของหนองญาติ หลายชิ้น เช่น


" ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม "  การบุกรุกหนองญาติ ครั้งแรก ในปี 2542


" สถานที่แสดงโลกของปลาน้ำโขง " 
ของเทศบาลเมืองนครพนม ( นอกเขต )
 สตง. จะตรวจสอบการใช้เงิน หลังการพิพากษา ของศาลปกครอง


" ศูนย์โอทอปจังหวัดนครพนม " ของ อบจ.นครพนม


"  หอเฉลิมพระเกียรติ ฯ  "   ของเทศบาลเมืองนครพนม ( นอกเขต )


"  ศูนย์ฝึกฝีมือแรงงาน " ของเทศบาลเมืองนครพนม ( นอกเขต )


"  สนามกีฬาจังหวัดนครพนม แห่งที่ 2 "  ของการกีฬาฯนครพนม

" สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ฯ " ของ อบต.หนองญาติ

  

ล่าสุด  การจัดทำภูมิทัศน์กลางหนองญาติ ของ อธิบดีกรมชลประทาน
และ ยังมีโครงการของ เทศบาลเมือง อีกมากมาย แต่ต้องได้ยุติ
เพราะมีการฟ้อง ศาลปกครองขอนแก่น ไปในปี 2549
" ที่ชัดเจนที่สุดคือ  เนื้อที่ หนองญาติ หายไปถึง 700 กว่าไร่  "



ภาพถ่ายทางอากาศ ของหนองญาติ  ในปี 2537
จะเห็น สภาพตามธรรมชาติที่แท้จริง ของหนองญาติ



ภาพถ่ายทางอากาศของ หนองญาติ ในปี  2516  มีเนื้อที่  3,280 ไร่
แต่หลักฐานของ ชลประทาน ในปี 2498  ก็ระบุว่า มีเนื้อที่  4,960  ไร่


ที่ว่าการอำเภอเมืองนครพนม ( ใหม่ )  สร้างปี  2542
สร้างอยู่กลางหนองญาติ ใช้พื้นที่ 150 ไร่
เมื่อแรกสร้าง  ก็มีชาวบ้านหลายกลุ่มออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย
เพราะไปสร้างอยู่กลางหนองน้ำ  ที่ประชาชนใช้ร่วมกันมาตลอด
แถมยังไม่มีความเหมาะสม เพราะอยู่นอกเขตเทศบาล ถึง 7 กิโลเมตร
แต่ถูกผู้ดำเนินการ  กล่าวหาชาวบ้านว่า งี่เง่า  ถ่วงความเจริญ


อำเภอเมืองนครพนม  สร้างบนที่สาธารณะ  ไม่ใช่ที่ราชพัสดุ


การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ  ตามรัฐธรรมนูญ 2540
เกิดในปี 2548  เมือ่มีชาวนครพนม ตั้ง " กลุ่มอนุรักษ์หนองญาติ "
ได้ตรวจสอบ  จนพบว่า เอกสาร ที่ใช้อ้างอิงในการเข้ามาใช้
หนองญาติ นั้น มีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย
จึงร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอนที่เปิดให้ทำได้
โดยเฉพาะ ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เพิกถอนหนังสือสำคัญฯ นพ 0038
แต่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนั้น  ก็เพิกเฉย ไม่ได้ให้ความสำคัญ
จน กลุ่มอนุรักษ์หนองญาติ  ทนรอไม่ไหวจึงฟ้องต่อ ศาลปกครอง

แทนที่จะสำนึก และ มีการชี้แจงความถูกต้องของตัวเองเพื่อความบริสุทธิ์ใจ
และ ปล่อยให้การตรวจสอบดำเนินไป  จนกว่าความจริงจะปรากฏ
นักการเมือง เจ้าของโครงการต่างๆเหล่านั้น  กลับออกมาตอบโต้ 
ด้วยการปลุกปั่นชาวบ้านนับร้อยๆ  ออกมาม๊อบ " ตัดไม้ ข่มนาม "
พร้อมกับ วิพากษ์วิจารณ์ กลุ่มอนุรักษ์หนองญาติ แบบดูหมิ่นดูแคลน
ดังที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  เพื่อแสดงบารมีในกลุ่มของตน




อันถือเป็น พฤติกรรมที่เหิมเกริมต่ำช้าที่สุด ของนักการเมืองไทย
ที่ เราชาวนครพนม  จะไม่มีวันลืม การกระทำเยี่ยงนี้ได้
เพราะ 20 กว่าปีที่ผ่านมา  พวกเราก็เป็น " เจ้าของบ้าน " ที่ดีมีน้ำใจ
ให้การสนับสนุน เลือก  " คนต่างถิ่น  "  ให้ได้เป็นนักการเมืองมาตลอด

การคิดร้ายไม่สำนึกบุญคุณของ " คนต่างถิ่น " ที่เปรียบได้กับ " วัวหลง "
กระทำต่อ" เจ้าของบ้าน " ที่เปรียบได้กับ " ม้าอารี  "  ในนิทาน ที่พูดถึง
ม้าอารีอยู่ในเพิง  ที่ยอมเขยิบที่ให้วัวได้หลบฝนเข้ามาอาศัยชายคาด้วย
แต่ทำไปทำมา วัวก็เบียดจน ม้า ( หน้าโง่ ) ต้องหนีออกไปตากฝนเสียเอง

และก็พอจะเทียบได้กับนิทานอีสป อีกเรื่องหนึ่งคือ " ชาวนากับงูเห่า  "
ชาวนา  เมตตาต่องูเห่าที่นอนขดแข็งหนาวเย็นอยู่กลางทุ่ง  
จึงนำกลับมาอยู่ในบ้านด้วย  แต่พองูได้รับความอบอุ่นขึ้น
ก็แว้งกัด ชาวนาผู้มีพระคุณ จนบาดเจ็บ ถึงแก่ความตาย

จากนิทาน 2 เรื่อง  สอนให้รู้ว่า " อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน "
โดยเฉพาะ นักการเมือง " คนต่างถิ่น " พวกนี้  
หรือที่ คนนครฯ ลูกเล็กเด็กแดง กำลังนิยมเรียกกันให้ลั่นสนั่นเมือง 
ว่า  " พวกหมาหลง "  ในขณะนี้


ก่อนที่ พวกเราๆท่านๆ " จะพายเรือ  ให้โจรนั่ง  "  โดยไม่รู้ตัว


"  เธอ และ เขา อาจจะเลือกเกิดไม่ได้  แต่ก็เลือกจะทำดี ได้นี่ ?  "

ส่วนพรรคเพื่อไทย จะส่งเสาไฟฟ้า หรือ ใคร ลง สส.นครพนม เราไม่ติดใจ
 แต่ สำหรับ  2 คนนี้  เราจะขอไว้ ให้คนนคร ฯ " สั่่งสอน " เอง

โดย หลังการพิพากษาของศาลปกครอง แล้ว
ก็จะยื่นเรื่องต่อ ศาลอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป



สวัสดี