หน้าเว็บ

กลุ่มพนมนครานุรักษ์

วัตถุประสงค์หลักของกลุ่ม คือ การทำกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชน ชุมชน หรือ องค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะบทบาทของประชาชน ชุมชน หรือ องค์กรประชาสังคม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

สำนักงาน เลขที่ 137 ถนนสุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม 48000
โทร. 042 - 520214 มือถือ 085 - 2044085
ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แถลงการณ์ของ คุณณรงค์ ไชยตา ประธานกลุ่มพนมนครานุรักษ์



สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ( นครพนม - คำม่วน )  จังหวัดนครพนม
กม. 8 บ้านห้อม  ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ที่มีเค้าโครงว่า จะสร้างความขัดแยังครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง ระหว่าง
กรมทางหลวง หน่วยงานของรัฐ  และ  ประชาชนชาวไทยพุทธ


ยอดหลังคา พระธาตุพนม สีทอง ตามแบบดังเดิมเป๊ะทุกประการ
ความคืบหน้าของงานก่อสร้างฯที่สำเร็จแล้ว ที่ฝั่งประเทศ สปป.ลาว


เมื่อไหร่  จะเกิดขึ้นที่ยอดหลังคาอาคารนี้ ที่นครพนม อย่ากระพริบตา


ความคืบหน้าของงานก่อสร้างสะพานฯ 90 % ที่ประเทศ สปป.ลาว  


นี่ไง  รูปทรงพระธาตุพนม  ที่ยอดเม็ดบัวหัวเสาใหญ่ขนาบสะพาน


คุณณรงค์  ไชยตา
ประธานกลุ่มพนมนครานุรักษ์ และ ประธานสภาทนายความจังหวัดนครพนม


หลังจากได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของการนำเอา "พระธาตุพนม "
มาใช้ประดับตกแต่งในงานสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ( นครพนม คำม่วน )
 เช่น ที่ยอดหลังคาของอาคารด่านศุลกากรนครพนม และที่เม็ดบัวหัวเสาใหญ่
ก็พบว่า  ไม่มีความเหมาะสมทั้งปวง ไม่ว่าด้านศาสนา สังคมและสถาปัตยกรรม  




แถลงการณ์ ของคุณณรงค์  ไชยตา
ถึงความไม่เหมาะสมในการใช้พระธาตุพนม ในงานสะพานฯ
ที่มุ่งประสงค์เพื่อความสวยงาม  มากกว่า  เพื่อความเคารพศรัทธา
ระบุว่าผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบ ก็คือ กระทรวงคมนาคม และ วัฒนธรรม




วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จะจัดการ " การละเมิด ทรัพย์สินทางศรัทธา " กับ กรมทางหลวง ยังไง ดี ?




องค์พระธาตุพนม อายุกว่าพันปี
ถ้ามีคนมาขโมยแบบ ลอกแบบ หรือ ก้อบปี้ หรือ ทำซ้ำ
 เราจะคิดค่าลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของ " ศิลปะพันปี " อย่างไรดี
ในเรื่องเงินทอง คงไม่มีปัญหา  เพราะ กรมทางหลวง 
 เป็น 1 ใน 3 หน่วยงาน ที่ข้าราชการพนักงานลูกจ้าง อู่ฟู่มานาน
( กรมชลประทาน , กรมทางหลวง , กรมทางหลวงชนบท )


ยอดหลังคา อาคารด่านศุลการ ฯ ทางฝั่งประเทศ สปป.ลาว
ที่เห็นในวงกลม คือ  รูปทรงพระธาตุพนมสีทอง ตามแบบเดิมเป๊ะ


เชื่อแล้วว่า กรมทางหลวง ยังจะเดินหน้าการนำ พระธาตุพนม 
มาใช้ประดับตกแต่งยอดหลังคาอาคาร โดยไม่มีวันเปลี่ยนใจ


หลักฐานจากรูปทัศนียภาพ ก็เป็นรูปทรง " พระธาตุพนม "


แท่งเหล็ก ที่เห็นอยู่เบื้องหน้า  จะตั้งเสียบ " รูปทรงพระธาตุพนม "
หรือ จะทิ่มแทงหัวจิตหัวใจ ผู้ใด ในอนาคต  ก็ให้คอยติดตาม


รูปทรง พระธาตุพนม  จะวางที่ยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากร ฯ


เม็ดบัวหัวเสาใหญ่  ก็เป็นรูปทรงพระธาตุพนม  ชัดๆ
นี่คือ  การเล่นของสูง สิ่งเคารพศักดิ์สิทธิ์  โดยรู้เท่าไม่ถึงการ
สถาปนิก ผู้ไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ คนนี้ จะอยู่ในวงการได้ต่อไปหรือไม่  ?
ต้องขอแรงบรรดาสถาปนิกไทยทั้งหลาย ได้ช่วยกัน " ขับเขา ให้ออกวงการไปเสีย "



เสาใหญ่ ขนาบสะพาน ลอกแบบ " รูปทรงพระธาตุพนม "



ป้ายนี้บอกว่า  สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง
เป็นผู้ออกแบบ โครงสร้างสะพานฯ โดยงบประมาณจากเงินภาษี ฯ
เมื่อ ประชาชนร้องเรียน ให้แก้ไขแบบให้มีความเหมาะสม
ก็เพิกเฉยแสดงว่า เขา " ปฏิเสธ การมีส่วนร่วมของประชาชน "
ตามที่มีบทบัญญัติ  ในรัฐธรรมนูญ 2550


ถ้า กรมทางหลวง ยังมั่นใจจะเดินหน้าการนำเอา พระธาตุพนม
มาใช้ประดับหลังคา  อาคารด่านศุลกากร ฯ เพื่อให้มีความสวยงาม
เพราะ กรมทางหลวง ตีราคา พระธาตุพนม เป็นแค่สัญลักษณ์ของจังหวัด
โดยไม่ได้คำนึงว่า  เป็นสิ่งเคารพบูชาสูงสุดของชาวพุทธไทย-ลาว แล้วล่ะก็
เรา ก็จะฟ้อง " การละเมิด ทรัพย์สินทางศรัทธา " กับ กรมทางหลวง 
โดยให้  ชาวพุทธทั้งประเทศช่วยกันคิดค่าเสียหาย จาก 3 กรณี  ดังนี้

1.  ค่าละเมิดพุทธศาสนา  เพราะความไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง 
2.  ค่าละเมิดรัฐธรรมนูญ  เพราะปฏิเสธการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.  ค่าละเมิดลิขสิทธ์  เพราะความสิ้นคิด กล้าลอกแบบอย่างหน้าไม่อาย 


ส่วนการจะร้องเรียนไปยังกระทรวงวัฒนธรรม หรือไม่นั้น
ก็ต้องรอให้ ท่านรัฐมนตรี ฯ  จัดการกับ " เรยา และแม่ชี "
ให้จบราบคาบเสียก่อน  แล้วเราถึงจะดำเนินการ คิวต่อไป
ที่ว่า จะเป็นรัฐมนตรีคนนี้ หรือ คนใหม่ ก็ไม่เป็นไร

เพราะยังมีเวลาอีกตั้งหลายวัน ก่อนที่จะทำพิธีเปิดสะพาน แห่งนี้