มูลค่า 30 ล้านบาท ว่า โปร่งใสและคุ้มค่ากับเงินภาษีของประชาชนอย่างไร
นี่เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยตั้งข้อสังเกตเพื่อการตรวจสอบ กรมชลประทาน ดังต่อไปนี้
1. หนองน้ำหนองญาติ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ 2468 จนกระทั่งปัจจุบัน
2. หนองน้ำหนองญาติ มีสถานะเป็นอ่างเก็บน้ำ ของ กรมชลประทาน ไปได้อย่างไรและแต่เมื่อไหร่
3. กรมชลประทาน ได้โอน หนองญาติ ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ อบต.หนองญาติ เป็นผู้ดูแล แต่ปี พ.ศ 2540 แล้ว การเข้ามายุ่งเกี่ยวในการขุดลอกหนองญาติ ครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยความสัมพันธ์อันใด
4. การขุดลอกดินจากหนองน้ำแล้วนำดินที่ได้กลับมาถมหนองญาติอีก มันเป็นปฎิบัติการ ประเภทใด เช่น การบำรุงฟื้นฟูหนองน้ำ หรือ การทำลายหนองน้ำ และมันเป็นหน้าที่อันใดของ กรมชลประทาน
5. การได้มาของหนองญาติ ที่มีบันทึกในใบใต่สวนว่า ซื้อมาจากผู้ขาย มีหลักฐานการซื้อขายและมีนส.3 เป็นหลักฐาน ซึ่งรวบรวมโดยเจ้าหน้าที่ ที่เป็นผู้แทนกรมชลประทาน เอกสารดังกล่าวมีจริงหรือไม่
ถ้า กรมชลประทาน สามารถตอบคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ได้ ก็ควรจะรับทราบด้วยว่า ในเรื่องนี้ ยังเป็นข้อพิพาทที่ว่า " หนองญาติ นั้นเป็นที่สาธารณะ หรือ ที่ราชพัสดุ " ที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง ขอนแก่น อยู่ และศาลปกครอง ก็ได้ให้การคุ้มครองชั่วคราว โดยมีคำสั่ง ห้ามกรมธนารักษ์อนุญาตให้ผู้ใดเข้ามาใช้พื้นที่ในบริเวณ หนองน้ำ " หนองญาติ "
ดังนั้น โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย / การขุดลอกหนองญาติ (ที่ฟังชื่อแล้วก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผลกับงบ 30 ล้านสักเท่าไหร่ ) ซึ่งระบุว่า อธิบดีกรมชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบนั้น ถ้าจะเดินหน้าต่อไป ก็บอกได้ว่า ไม่น่าจะเป็นผลดีมีประโยชน์แก่ กรมชลประทานหรือ รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น