หน้าเว็บ

กลุ่มพนมนครานุรักษ์

วัตถุประสงค์หลักของกลุ่ม คือ การทำกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชน ชุมชน หรือ องค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะบทบาทของประชาชน ชุมชน หรือ องค์กรประชาสังคม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

สำนักงาน เลขที่ 137 ถนนสุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม 48000
โทร. 042 - 520214 มือถือ 085 - 2044085
ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุพนม กับการท้าทายจาก " กรมทางหลวง "




อาคารด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม ณ สะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3 
ที่อยู่เบื้องหน้า  จะสังเกตุเห็นแท่งแหลมตรงยอดของหลังคา




แท่งแหลมที่เห็นนั้น ก็เพื่อจะรองรับโครงเหล็กองค์พระธาตุพนมจำลอง


โครงพระธาตุพนมจำลอง  ที่กรมทางหลวงจะนำไปติดตั้งบนยอดของหลังคา
อาคารด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม และยอดของเสาใหญ่


พระธาตุพนม อายุ 1,200 ปี  วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม


ภาพของอาคารด่านศุลกากรนครพนม

สถาปนิกผู้ออกแบบ กำหนดใช้พระธาตุพนม เป็นยอดแหลมของหลังคา
โดยอ้างเหตุผลที่ว่า " พระธาตุพนม เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม "
โดยไม่ได้สำเหนียกเลยว่า  พระธาตุพนม เป็นสิ่งมงคลสำหรับการกราบไหว้
สักการะบูชา ของชาวพุทธทั้งหลาย
การนำเอาพระธาตุพนม มาประกอบกับงานอาคารฯ ณ ที่สะพานแห่งนี้
เห็นได้ชัดว่า ทำไป เพื่อความสวยงาม  มากกว่า เพื่อความเคารพ
แสดงให้เห็น ความไม่จริงใจ ทำงานไม่คิด เอาความมักง่ายเข้าว่า 
ของสถาปนิก  และการห่วงแต่ประโยชน์ส่วนตน ของ กรมทางหลวง
ที่สำคัญที่สุดคือ  การไม่แคร์สนใจ ต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิด
และ ความศรัทธา ของ  ชาวไทยพุทธ และชาวลาวพุทธ




ที่เม็ดบัวหัวเสาใหญ่ ที่ขนาบสองข้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3
จังหวัดนครพนม





การเชื่อมแผ่นเหล็กเพื่อประกอบเป็นรูปทรงพระธาตุพนม
ก็ทำกันง่ายๆ ที่ร้านเชื่อมเหล็ก ริมถนน  ในเมืองนครพนม
เจ้าของร้าน บอกว่า สิ่งเหล่านี้จะนำไปติดตั้งที่ยอดหลังคาอาคาร
ด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม และ ที่ฝั่งเมืองคำม่วน ประเทศ สปป.ลาว ด้วย
นี่หรือ การแสดงความเคารพยกย่อง เชิดชูไว้สูงสุด
" ต่อองค์พระธาตุพนม " ของ กรมทางหลวง ?


ในเมื่อเสียงเรียกร้องของประชาชนมิให้ใช้พระธาตุพนมกับงานนี้ ไม่เป็นผล
และ กรมทางหลวง ยังจะเดินหน้าที่ทำงานตามแผนการเดิม
 ก็ช่วยไม่ได้ ที่ต้องเป็นเรื่องของ " พญานาค " ในฐานะผู้พิทักษ์พระธาตุพนม 
จะดำเนินการ " เช่นไร " ต่อไป

คำร่ำลือ ถึงอาถรรพ์ขององค์พระธาตุพนม จะเป็นจริงแค่ไหน
ก็ให้คอยดูว่า " จะมีอะไร เกิดขึ้น "



วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรมทางหลวงเพิกเฉยกับการให้มีอัตลักษณ์ของจังหวัดนครพนม




ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554
จะเห็นโครงเหล็กและหุ่นรูปร่างช้างที่ใต้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว หรือ สะพาน นครพนม - คำม่วน



แสดงว่า การเสนอให้ให้มีอัตลักษณ์ท้องถิ่นนครพนม ของกลุ่มพนมนครานุรักษ์
ในเรื่อง  การเปลี่ยนรูปแบบประติมากรรม จาก ช้าง 3 เชือก หรือ ครอบครัวช้าง
มาเป็น " พระยานาค " ซึ่งเป็นสัตว์ " อัตลักษณ์ " ของท้องถิ่นตามลุ่มน้ำโขง
ไม่ได้รับการพิจารณาจากกรมทางหลวงเลย  และยังคงจะเดินหน้าตามแบบเดิม



สะพานข้ามแม่น้ำโขง ( มิตรภาพไทย-ลาว ) แห่งที่ 3 ณ ที่จังหวัดนครพนม นี้
เป็นของขวัญที่รัฐบาลไทย มอบให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศได้ใช้ประโยชน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ชาวไทยนครพนม และชาวลาวคำม่วน
ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งนี้
ที่ควรได้สิทธิแสดงเอกลักษณ์ของบ้าน , อัตลักษณ์ของเมือง ในสะพานแห่งนี้ด้วย






ที่ชาวนครพนมยังกริ่งเกรงอีกเรื่อง ก็คือ  การนำเอาพระธาตุพนมมาใช้ในงาน
การประดับตกแต่งที่ยอดของอาคารด่านศุลกากร ที่เห็นอยู่เบื้องหน้า


และที่ยอดของเสาใหญ่ 2 ต้น ที่ขนาบอยู่สองข้างสะพาน



กรมทางหลวง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการหนึ่ง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ควบคุม ก่อสร้าง บูรณะ บำรุงรักษา ถนน อันเป็นทางหลวงของแผ่นดินทั่วประเทศ
ก็อาจจะคุ้นเคยและเชี่ยวชาญกับงานทางด้านวิศวกรรม แต่เพียงเรื่องเดียว
ส่วนงานด้าน " ศิลปะกรรม " แล้ว  กรมทางหลวง  นับเป็นมือใหม่และสมัครเล่น


ผลจากการนำเอาสิ่งที่เกี่ยวข้องในองค์พระธาตุพนมมาใช้อย่างไม่เหมาะสม
ก็ประจักษ์ถึงอันเป็นไป เช่น ข้าราชการชื่อเสียงเสียหาย พ่อค้าก็ธุรกิจล้มละลาย
หากว่า กรมทางหลวง ยังไม่แน่ใจในเรื่องนี้  ก็ลองจุดธูปถามศาลพระภูมิดู
ก่อนที่จะมาเสียใจทีหลัง