อาคารด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม ณ สะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3
ที่อยู่เบื้องหน้า จะสังเกตุเห็นแท่งแหลมตรงยอดของหลังคา
แท่งแหลมที่เห็นนั้น ก็เพื่อจะรองรับโครงเหล็กองค์พระธาตุพนมจำลอง
โครงพระธาตุพนมจำลอง ที่กรมทางหลวงจะนำไปติดตั้งบนยอดของหลังคา
อาคารด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม และยอดของเสาใหญ่
พระธาตุพนม อายุ 1,200 ปี วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ภาพของอาคารด่านศุลกากรนครพนม
สถาปนิกผู้ออกแบบ กำหนดใช้พระธาตุพนม เป็นยอดแหลมของหลังคา
โดยอ้างเหตุผลที่ว่า " พระธาตุพนม เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม "
โดยไม่ได้สำเหนียกเลยว่า พระธาตุพนม เป็นสิ่งมงคลสำหรับการกราบไหว้
สักการะบูชา ของชาวพุทธทั้งหลาย
การนำเอาพระธาตุพนม มาประกอบกับงานอาคารฯ ณ ที่สะพานแห่งนี้
เห็นได้ชัดว่า ทำไป เพื่อความสวยงาม มากกว่า เพื่อความเคารพ
แสดงให้เห็น ความไม่จริงใจ ทำงานไม่คิด เอาความมักง่ายเข้าว่า
ของสถาปนิก และการห่วงแต่ประโยชน์ส่วนตน ของ กรมทางหลวง
ที่สำคัญที่สุดคือ การไม่แคร์สนใจ ต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิด
และ ความศรัทธา ของ ชาวไทยพุทธ และชาวลาวพุทธ
ที่เม็ดบัวหัวเสาใหญ่ ที่ขนาบสองข้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3
จังหวัดนครพนม
การเชื่อมแผ่นเหล็กเพื่อประกอบเป็นรูปทรงพระธาตุพนม
ก็ทำกันง่ายๆ ที่ร้านเชื่อมเหล็ก ริมถนน ในเมืองนครพนม
เจ้าของร้าน บอกว่า สิ่งเหล่านี้จะนำไปติดตั้งที่ยอดหลังคาอาคาร
ด่านศุลกากรจังหวัดนครพนม และ ที่ฝั่งเมืองคำม่วน ประเทศ สปป.ลาว ด้วย
นี่หรือ การแสดงความเคารพยกย่อง เชิดชูไว้สูงสุด
" ต่อองค์พระธาตุพนม " ของ กรมทางหลวง ?
ในเมื่อเสียงเรียกร้องของประชาชนมิให้ใช้พระธาตุพนมกับงานนี้ ไม่เป็นผล
และ กรมทางหลวง ยังจะเดินหน้าที่ทำงานตามแผนการเดิม
ก็ช่วยไม่ได้ ที่ต้องเป็นเรื่องของ " พญานาค " ในฐานะผู้พิทักษ์พระธาตุพนม
จะดำเนินการ " เช่นไร " ต่อไป
คำร่ำลือ ถึงอาถรรพ์ขององค์พระธาตุพนม จะเป็นจริงแค่ไหน
ก็ให้คอยดูว่า " จะมีอะไร เกิดขึ้น "
เราต้องจัดการศึกษาเชิงก้าวหน้าให้กับกลุ่มพนมนครานุรักษ์อย่างหนัก โดยเฉพาะประเด็นดังต่อไปนี้
ตอบลบ๑. วิกฤตการณ์สูงสุดในพุทธศิลป์อีสาน
๒. อัตลักษณ์ท้องถิ่น
๓. ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา กับความงมงายในลัทธิถือผี
๔. สาเหตุแห่งความสาบสูญของศิลปะศรีโคตรบูรในอีสาน-นครพนม