ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554
จะเห็นโครงเหล็กและหุ่นรูปร่างช้างที่ใต้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว หรือ สะพาน นครพนม - คำม่วน
แสดงว่า การเสนอให้ให้มีอัตลักษณ์ท้องถิ่นนครพนม ของกลุ่มพนมนครานุรักษ์
ในเรื่อง การเปลี่ยนรูปแบบประติมากรรม จาก ช้าง 3 เชือก หรือ ครอบครัวช้าง
มาเป็น " พระยานาค " ซึ่งเป็นสัตว์ " อัตลักษณ์ " ของท้องถิ่นตามลุ่มน้ำโขง
ไม่ได้รับการพิจารณาจากกรมทางหลวงเลย และยังคงจะเดินหน้าตามแบบเดิม
สะพานข้ามแม่น้ำโขง ( มิตรภาพไทย-ลาว ) แห่งที่ 3 ณ ที่จังหวัดนครพนม นี้
เป็นของขวัญที่รัฐบาลไทย มอบให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศได้ใช้ประโยชน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ชาวไทยนครพนม และชาวลาวคำม่วน
ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งนี้
ที่ควรได้สิทธิแสดงเอกลักษณ์ของบ้าน , อัตลักษณ์ของเมือง ในสะพานแห่งนี้ด้วย
ที่ชาวนครพนมยังกริ่งเกรงอีกเรื่อง ก็คือ การนำเอาพระธาตุพนมมาใช้ในงาน
การประดับตกแต่งที่ยอดของอาคารด่านศุลกากร ที่เห็นอยู่เบื้องหน้า
และที่ยอดของเสาใหญ่ 2 ต้น ที่ขนาบอยู่สองข้างสะพาน
กรมทางหลวง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการหนึ่ง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ควบคุม ก่อสร้าง บูรณะ บำรุงรักษา ถนน อันเป็นทางหลวงของแผ่นดินทั่วประเทศ
ก็อาจจะคุ้นเคยและเชี่ยวชาญกับงานทางด้านวิศวกรรม แต่เพียงเรื่องเดียว
ส่วนงานด้าน " ศิลปะกรรม " แล้ว กรมทางหลวง นับเป็นมือใหม่และสมัครเล่น
ผลจากการนำเอาสิ่งที่เกี่ยวข้องในองค์พระธาตุพนมมาใช้อย่างไม่เหมาะสม
ก็ประจักษ์ถึงอันเป็นไป เช่น ข้าราชการชื่อเสียงเสียหาย พ่อค้าก็ธุรกิจล้มละลาย
หากว่า กรมทางหลวง ยังไม่แน่ใจในเรื่องนี้ ก็ลองจุดธูปถามศาลพระภูมิดู
ก่อนที่จะมาเสียใจทีหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น